|
|
|
|
พระครูภาวนาภิรัต (หลวงปู่สังข์ สงฺกิจฺโจ)
(๒๔๗๓-ปัจจุบัน)
วัดป่าอาจารย์ตื้อ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ |
|
|
|
|
|
นามเดิม |
|
สังข์ คะลีล้วน |
|
|
เกิด |
|
วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๓ |
|
|
บ้านเกิด |
|
บ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม |
|
|
บิดามารดา |
|
นายเฮ้า และ นางลับ คะลีล้วน |
|
|
พี่น้อง |
|
มีพี่ชายติดโยมบิดา ๑ คน มีพี่ชายติดโยมมารดา ๑ คน มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันจำนวน ๔ คน |
|
|
|
ท่านเป็นลูกชายคนที่ ๑ |
|
บรรพชา |
|
อายุ ๑๘ ปี ณ พัทธสีมา วัดศรีเทพประดิษฐาราม โดยมี พระสารภาณมุนี (จันทร์ เขมิโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ |
|
|
|
|
(ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระเทพสิทธาจารย์) |
|
|
อุปสมบท |
|
พ.ศ. ๒๔๙๓ อายุ ๒๐ ปี บริบูรณ์ ณ พัทธสีวัดป่าบ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม |
|
|
|
|
โดยมีพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระทัด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์บุญส่ง โสปโก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ |
|
เรื่องราวในชีวิต |
|
ท่านเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ซึ่งถือว่าสูงสุดในสมัยนั้น เมื่ออายุได้ ๑๘ ปี |
|
|
บรรพชาเสร็จก็กลับมาจำพรรษาที่วัดอรัญญวิเวกบ้านข่า ซึ่งเป็นบ้านเกิด เมื่อครั้งเป็นสามเณร หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้มาพำนักที่วัดป่าบ้านหนองผือนาใน ท่านก็ได้มีโอกาส ได้ไปรับฟังพระธรรมเทศนาจากหลวงปู่มั่นโดยตรง แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจเพราะยังเป็นเด็กอยู่ ท่านเป็สามเณรอยู่สามปี สามนักธรรมชั้นตรี - โท ได้จากสนามสอบวัดศรีชมชื่น ซึ่งเป็นวัดบ้าน เพราะยุคนั้นสนามสอบของคณะธรรมยุตยังไม่มี
ท่านได้ออกติดตามหาหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติทางยาย คือปู่ของหลวงปู่ตื้อ เป็นพี่ชายของคุณยายของท่านได้ยินแต่กิตติศัพท์ของหลวงปู่ตื้อมานาน แต่ไม่เคยเห็นตัวจริงมาก่อนเลย จึงอยากจะออกติดตามหาหลวงปู่ตื้อ มีพระและญาติโยมขึ้นมาเชียงใหม่เป็นครั้งแรก โดยมีพี่ชายของหลวงปู่ตื้อ มีพระและญาติโยมตามมาด้วยซึ่งเมื่อถึงจังหวัดเชียงใหม่แล้ว ก็เข้าพักที่จังหวัดเชียงใหม่ก่อน ได้ยินว่าหลวงปู่ตื้อจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าดาราภิรมย์ จึงตามไปพบท่านที่วัดป่าดาราภิรมย์ เมื่อได้พบหลวงปู่ตื้อแล้ว ก็พักอยู่ที่วัดป่าดาราภิรมย์ระยะหนึ่งจึงเดินทางกลับบ้านเกิด
พ.ศ.๒๔๙๓ เมื่ออุปสมบทแล้ว ก็อยู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านสามผงกับพระอุปัชฌาย์เป็นเวลา ๕ ปี ท่านสอบนักธรรมชั้นเอกได้ที่วัดป่าบ้านสามผงแห่งนี้ แล้วทำหน้าที่เป็นครูสอนนักธรรมช่วยพระอุปัชฌาย์ จากนั้นปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ท่านจึงออกเดินทางขึ้นเหนือเพื่อมาอยู่กับหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ที่วัดป่าดาราภิรมย์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ที่นี่ท่านได้เรียนบาลีไวยากรณ์กับพระมหามณี พยอมยงค์ จนจบชั้นหนึ่ง สอบได้แล้วจึงหยุดเรียน เพราะจิตใจใฝ่ในทางธุดงค์มากกว่าท่านจึงได้ออกวิเวกแถบจังหวัดเชียงราย โดยมี พระอาจารย์ไท ฐานุตฺตโม เป็นสหธรรมิก เที่ยววิเวกไปด้วยกัน ได้พบพระอาจารย์มหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต ที่วัดถ้ำผาจรุย อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย
หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม สร้างวัดป่าสามัคคีธรรมซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดป่าอาจารย์ตื้อ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ท่านได้กลับจากเที่ยววิเวกมาจำพรรษากลับหลวงปู่ตื้อที่วัดป่าอาจารย์ตื้อ ได้พัฒนาและบูรณะวัดนี้มาตลอด ในปี พ.ศ.๒๕๒๓ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าอาจารย์ตื้ออย่างเป็นทางการ ได้สร้างอุโบสถหนึ่งหลัง ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้รับพระราชสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทฝ่ายวิปัสสนาธุระที่พระครูภาวนาภิรัต ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้มาเป็นเวลากว่า ๔๐ ปีแล้ว ปัจจุบันอายุ ๗๘ ปี พรรษา ๕๘ (พ.ศ. ๒๕๕๐) |
ข้อมูลพิเศษ |
|
ท่านเป็นหลานของหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เป็นประธานในการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม |
|
|
ที่วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม |
ธรรมโอวาท |
|
|
|
|
"...สร้างบุญสร้างกุศลก็มีความสุข สมบัติของเราย่อมได้ มนุษย์สมบัติอาศัยความสุขด้วยศีลธรรม ทิพพสัมบัติ นิพพานสมบัติ เราทำเราไม่ต้องสงสัย สงสัยอะไรละ ก็จิตเรามีนี่ อื้อลงในจิตอันเดียวให้รู้จักนะ จิตนี้ขันธ์ห้ามันหุ้มอยู่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน ตัววิญญาณ มันหุ้มจิตอยู่นะ มันก็หุ้มออกมา สัญญามันก็หุ้มจิตอยู่นั่นแหละ สัญญามันรู้รอบทิศ เรามีหูมีตารอบทิศนะ รูป เสียง กลิ่น รส ก็รู้ทิศอยู่ เนี่ยะเข้าใจนะ ความจำก็ออกมา เวทนา สุข ทุกข์ มันก็รอบจิตเราอยู่ คือขันธ์ห้านี่แหละ เข้าใจนะ แต่ว่าวิญญาณนี่ มาทางนี้มันมีความรู้สึกรอบขันธ์ห้าอยู่ ที่นี้ถ้าเราจะรับทาน มันก็อยู่ที่จิต ถ้าเราจะรับศีลมันก็อยู่ที่จิต จิตอันเดียวนะ พุทโธๆ ๆ รู้จิตเรานะ ให้ศึกษาจิต แต่ว่าถ้าจะรับศีลห้านี้เป็นกิริยาคือ ห้าข้อ จิตอันเดียวรับเอา เท่านี้แหละ ถ้าเราอยากจะรู้ว่า ห้าข้อนั้น จิตอันเดียวก็เราตั้งหลักหนึ่งซะ ข้อหนึ่งคืออะไร ข้อสองคืออะไร ข้อสามคืออะไร ให้ภาวนาเดี๋ยวเกิดปัญญาขึ้นมา เดี๋ยวเกิดสติในหลักนั้นขึ้นมา ก็จิตนั่นหละรู้แจ้งด้วยศีลนั้น ศีลก็อยู่ที่จิตอันเดียว ที่เรารู้ก็มีห้าข้อ แต่เมื่อสงบแล้วก็ลงสู่จิตอันเดียวเป็นพลังนั่นนะ เข้าใจนะ ถ้าบุญกิริยาสิบ ก็เป็นกิริยา คือเราจะต้องทำในอาการกิริยาลักษณะนั้นในจิต แต่ว่าจิตนั้นรับเอา ๑๐ อย่าง เราก็นับเอามันอยู่ในจิตนั่นแหละ นับเอาเถอะ เนี่ยะมันเป็นบ่อเกิดนะ นับเอาหลักมัน นึก ทานคืออะไร นึกศีลคืออะไร ตามลำดับ อนุโลม ปฏิโลม อย่างนี้ว่าหลักการภาวนาทางในๆ อันนี้เป็นจิตตภาวนา แต่ถ้าเราจะเอาคุณธรรมที่นั้น แต่ถ้าเราเอาไว้ในจิต เราจะลดมาดูขันธ์ห้าเรา รูปเวทนา สัญญา ก็ยิ่งใกล้อันนี้ ถ้ามาดูรูปก็ท่านบัญญัติไว้ว่า เกษา โลมา ถ้าจะดูรูปธรรมท่านว่า อาการ ๓๒ รู้ได้ใกล้ๆ นี่ อันนั้นเป็นธรรมนะ ถ้าจะดูบารมีธรรมก็เอ้าดูจิตเราอดอะไรได้บ้างนะ มันก็อยู่ที่ความสามารถของเราจะอดได้แค่นั้น แต่สร้างขึ้นไปมันก็มากขึ้นๆ เข้าใจบ่ ให้ภาวนาให้รู้จิตนะ ดังนั้น เราจิตมันมาก มันก็มากเป็นกิริยานั่นหละ มันก็ ถ้าศีลห้า ถ้าคิดตามห้า มันก็ห้าคิดนั่นหละ มันก็จิตอันเดียวนั่นแหละ แต่เราไม่มีสติ เพิ่นก็เลยบัญญัติว่าจิตที่เป็นกุศลห้าดวงซะ คิดไปตามอาการนั้น เข้าใจบ่ น่ะ ถึงร้อยดวงพันดวงก็คิดไปตามในเรื่องที่เป็นกุศล แต่ที่เป็นอกุศลก็บัญญัติไว้หลายดวงเหมือนกันแต่จิตอันเดียว แต่ไปตามกิริยาทั้งนั้น เท่านั้นแหละ ให้รู้ เมื่อรู้แล้วก็รวมอยู่ที่จิต..."
"...โอ้ยวันไหนเจ็บกายหนอ โอยมันไม่ฟังเราหรอก มันจะเอาอันนี้มันก็ไม่เอา นี่ก็แปลว่าซังมันแล้วนะ คนซังธรรมนี้ ไม่เห็นธรรมนะ..."
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|